วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือคว่ำ

0
10

ใกล้จะสิ้นปีแล้ว หลายคนวางแผนจะเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปล่องเรือ ว่ายน้ำ ดำน้ำ สิ่งที่ต้องคำนึงคือเรื่องความปลอดภัยระหว่างการท่องเที่ยว วันนี้เรามีวิธีเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุทางน้ำมาฝาก เผื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะได้ปลอดภัยกันทุกคน

การเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุทางน้ำ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะนำด้านความปลอดภัย และวิธีป้องกันให้ทำตามวิธีการดังต่อไปนี้

1.อย่าลืมสวมเสื้อชูชีพขณะนั่งเรือ

ควรสวมเสื้อชูชีพและล็อกให้ครบทุกจุ เสื้อชูชีพจะช่วยให้เราพยุงตัวอยู่ในน้ำได้นานประมาณ 3-6 ชั่วโมง

2.กระจายการนั่งบนเรืออย่างสมดุล

ผู้โดยสารควรกระจายน้ำหนักในการนั่งเรืออย่างสมดุล ไม่ไปยืนที่บริเวณกราบเรือ-ท้าย

3.ว่ายน้ำออกจากตัวเรือให้เร็วที่สุด

หากพลัดตกเรือ หรือเรือล่ม ควรพยายามว่ายน้ำออกห่างจากเรือโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสน้ำดูดเข้าไปใต้ท้องเรือ แล้วคว้าของที่ลอยน้ำได้ เพื่อยึดเกาะไว้ แล้วส่งสัญญาณให้คนอื่นรู้ว่ากำลังประสบภัย ดังนี้

4.ฝึกพยุงตัวให้ลอยตัวอยู่ในน้ำอย่างมีสติ

วิธีลอยตัวในน้ำสามารถทำได้ทุกคน รวมถึงคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ขอเพียงแค่มีสติ และทำตามวิธีดังต่อไปนี้

ท่าที่ 1 : นอนหงายให้ปากและจมูกโผล่พ้นน้ำเพื่อหายใจเอาอากาศเข้าปอดก็ได้ อย่าเกร็งตัว ให้ใช้มือทั้ง 2 ข้าง พุ้ยน้ำเบาๆ ส่วนขาทั้ง 2 ข้าง ให้ถีบน้ำคล้ายๆ กับท่าของกบ คนว่ายน้ำไม่เป็นก็สามารถทำได้ แต่ในกรณีที่น้ำเชี่ยวให้เปลี่ยนมาเป็นท่าลอยคว่ำหน้า ไม่เกร็งตัว เงยหน้าขึ้นมาสูดอากาศเข้าปอดเป็นครั้งคราว

ท่าที่ 2 : พยายามลอยตัวในน้ำโดยนอนนิ่งๆ อยู่กับที่ ให้ศีรษะอยู่พ้นน้ำ ใช้แขนทั้ง 2 ข้าง กดลงน้ำแล้วกวาดออกไปด้านข้าง ดึงแขนกลับมาแล้วกดลงน้ำซ้ำอีกครั้ง คล้ายๆ กับการวาดเลขแปดในน้ำ พร้อมกับถีบขาเบาๆ แบบไม่ต้องพับเข่ามากนัก ท่านี้จะทำให้เราสามารถยกแขนขึ้นเพื่อโบกมือขอความช่วยเหลือได้ด้วย

5.คนที่ว่ายน้ำเป็น อย่าว่ายทวนน้ำเด็ดขาด

ควรว่ายตามแนวคลื่นเพื่อพยายามเข้าใกล้ฝั่ง และให้หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางประเภทเศษขยะ เนื่องจากอาจเข้ามาพันตัวเราจนว่ายน้ำยากกว่าเดิม อีกทั้งไม่ควรเข้าใกล้สะพาน เพราะมักเป็นจุดที่มีกระแสน้ำวน

อย่างไรก็ตาม การเกิดอุบัติเหตุขณะท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้วิธีป้องกันและเอาตัวรอดอย่างมีสติ และหากพบเห็นอุบัติเหตุทางน้ำ แจ้ง 1196 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669

Previous articleเคล็ดลับการเก็บอาหารทะเลอย่างไรให้คงรสชาติได้นาน
Next articleหลักการสังเกตอาการโรคเส้นเลือดสมองตีบ รู้ไวลดเสี่ยงพิการ